หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

เซียมซี คืออะไร อยากรู้ ต้องอ่าน

เซียมซี คืออะไร อยากรู้ ต้องอ่าน

แกร๊กๆ แกร๊กๆ...
เสียงเขย่ากระบอกไม้ไผ่ที่ภายในบรรจุติ้วบอกตัวเลขดั งแข่งกันไปทั่วศาลเจ้า ท่ามกลางกลิ่นธูปควันเทียนราวกับมหกรรมแข่งขันประชัน เสียง บางคนนั่งตั้งจิตอธิษฐานอย่างแน่วแน่ โดยไม่สนใจเสียงที่ดังรบกวนจากรอบข้าง ขณะที่อีกหลายคนนั่งต่อคิวเพื่อที่จะรอเขย่าไม้ติ้วใ นกระบอกไม้ไผ่บ้าง... และเป็นช่วงเทศกาลสำคัญๆประจำปีอย่างวันขึ้นปีใหม่ หรือวันตรุษจีน จะมีผู้คนไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมทั้งเขย่าก ระบอกไม้ไผ่กันอย่างหนาตาเป็นพิเศษ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีให้เห็นกันแต่ในวัดศักด ิ์สิทธิ์ของไทยเท่านั้น แม้แต่ในศาลเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจีนก็มีผู้คนเข ้าไปเสี่ยงทายกันอย่างเนืองแน่น เรียกการเสี่ยงทายทำนายชะตาชีวิตลักษณะนี้ว่า "การเสี่ยงเซียมซี" การไหว้พระและการเสี่ยงเซียมซีในปัจจุบันนี้ดูเหมือน ว่าจะเป็นของคู่กันไปเพราะว่ามีวัดและสถานที่ศักดิ์ส ิทธิ์ทุกแห่งจะต้องมีเซียมซีเอาไว้เสี่ยงทาย เชื่อกันว่าทุกๆคนอย่างน้อยต้องเคยเสี่ยงมาแล้วเหมือ นกัน การเสี่ยงเซียมซีเป็นโหราศาสตร์อันเก่าแก่แขนงหนึ่งซ ึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีนไม่น้อยกว่า 1 พันปีราวในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนการเผยแผ่ในประเทศไทยนั้นไม่มีปรากฏหลักฐานบันทึ กไว้อย่างชัดเจนว่าเข้ามาสมัยใด มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเข้ามาพร้อมๆกับกระถางธูปจีนใ นสมัยอยุธยา ส่วนจะมีการใช้เซียมซีเพื่อการเสี่ยงทายด้วยหรือไม่น ั้นยังไม่เด่นชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ค้นพบหลักฐานแห่งแรกตรงกับสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ที่วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
การไหว้พระและการเสี่ยงเซียมซีในปัจจุบันนี้ดูเหมือน ว่าจะเป็นของคู่กัน

คำว่า "เซียมซี" นั้นเป็นภาษาจีน "เซียม" แปลว่า "แผ่นกระดาษที่มีขนาดเล็กและยาว" ส่วนคำว่า "ซี" แปลว่า "บทกลอน" เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า "บทกลอนบนแผ่นกระดาษแผ่นเล็กๆเพื่อให้จดจำได้ง่า ย" สิ่งหนึ่งที่คู่กับเซียมซีคือ "ติ้ว" ส่วนใหญ่จะทำจากไม้ไผ่บางแต่ปัจจุบันได้มีการทำเป็นพ ลาสติกและเขียนหมายเลขกำกับไว้ประมาณ 9-36 หมายเลขรวมกันในกระบอกไม้ไผ่ที่เรียกว่า "กระบอกติ้ว" การเสี่ยงเซียมซีจะต้องสั่นกระบอกติ้วให้ไม้เซียมซีห ลุดออกมา 1 อันเมื่อปรากฏหมายเลขใดแล้วก็ให้อ่านตามคำทำนายหมายเลขน ั้นเพื่อดูว่าจะมีความหมายไปในทางที่ดีหรือทางร้ายกั น

เซียมซีประกอบไปด้วย ไม้ไผ่ติ้วซึ่งกำกับตัวเลขเอาไว้และกระบอกติ้ว
มีความเชื่อกันว่า ต้นกำเนิดการเสี่ยงทายทำนายชะตาชีวิตลักษณะนี้มีมาช้ านานแล้วและน่าจะเกิดขึ้นในประเทศจีนก่อน โดยนักปราชญ์ชาวจีนในราชวงศ์ซ้งตอนปลายและต้นราชวงศ์ โจว ได้รวบรวมเอาความคิดเห็นของนักปราชญ์ในอดีตมาสร้างเป ็นคำภีร์เล่มหนึ่งนามว่า "อี้จิง" คำว่า "อี้" หมายถึง "เปลี่ยน" ส่วนคำว่า "จิง" หมายถึง "คัมภีร์" ซึ่งในคัมภีร์เล่มนี้ได้บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงของช ีวิตตามกฎธรรมชาติ โดยนักปราชญ์ให้ความสำคัญว่าการเปลี่ยนแปลงของธรรมชา ติย่อมต้องอาศัยฟ้าและดินเป็นหลักที่มีผลทั้งทางด้าน ดีและร้าย จึงเกิดมีการเสี่ยงทายเกิดขึ้นในสมัยนั้นโดยอาศัยข้อ ความในคัมภีร์อี้จิงซึ่งมีอยู่ 64 บทเป็นหลักในการทำนาย
ต่อมาได้หมดบทบาทความสำคัญไป อาจจะเป็นเพราะหาผู้รู้จริงและต้องเป็นผู้มีจิตใจสูง ส่งได้ยากขึ้น ผู้รู้เหล่านั้นจึงเพียงทำหน้าที่ดูแลความสะอาดของศา ลเจ้าเท่านั้น จึงทำให้เกิดการคิดวิธีการเสี่ยงทายใหม่ๆ ขึ้นมาแทน โดยหาวัสดุที่มีอยู่มากในท้องถิ่นมาทำเครื่องเสี่ยงท าย ซึ่งประเทศจีนมีไม้ไผ่อยู่มาก จึงถูกนำมาเป็นอุปกรณ์ในการเสี่ยงทายโดยใช้ไม้ไผ่เหล าเป็นซีกบางๆ ใช้สีเขียนตัวเลขหรือตัวอักษรไว้ที่ปลายไม้บรรจุลงใน กระบอกไม้ไผ่ก้นตัน เวลาเสี่ยงทายก็จะตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิ ทธิ์ แล้วเขย่ากระบอกไม้ไผ่จนกว่าจะมีไม้ไผ่หล่นมา 1 อัน แล้วนำเลขหมายไปบอกกับซินแสประจำศาลเจ้าเพื่อแลกใบทำ นาย ก็จะได้คำตอบซึ่งมีทั้งดีและร้าย โดยถือเป็นคำพยากรณ์ของเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท ี่ทำนายชะตาชีวิตของผู้เสี่ยงทาย
เดิมทีคำทำนาย หรือใบเซียมซี คาดว่าเขียนเป็นภาษาจีนไว้บนแผ่นไม้เนื้อแข็งหรือผนั งศาลเจ้าคนไทยต้องอาศัยผู้รู้ภาษาจีนอ่านและแปลให้ฟั ง ต่อมาพอถึงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดให้มีการเสี่ยงเซียมซีที่วัดกัลยาณมิตรวรมหาว ิหารและนั่นคือจุดเริ่มของใบเซียมซีที่มีทั้งภาษาไทย และภาษาจีนในใบเดียวกัน โดยมี เปลี่ยน แซ่ซ้อง เป็นผู้ริเริ่มแปลเซียมซีภาษาจีนเป็นภาษาไทยแล้วพิมพ ์ถวายวัด โดยทางวัดได้นำคำทำนายไปเขียนไว้บนกระจกใสเรียงตามลำ ดับตั้งแต่เลขที่ 1 ไปจนถึงเลขที่ 28 ถ้าเสี่ยงได้เลขใดก็อ่านตามหมายเลขนั้น
ใบทำนายเซียมซี


ใบเซียมซีของจีนโบราณบ่งบอกถึงความหมายเอาไว้คร่าวๆถ ึงเรื่องผลของการทำนายว่า ดีมาก ดี ปานกลาง และไม่ดี ส่วนใบเซียมซีที่อยู่ตามวัดวาอารามที่ผู้คนนับถือนั้ นจะเป็นแบบร้อยกรอง ซึ่งซ่อนเร้นสำนวนทางวรรณศิลป์อันมีคุณค่าทางภาษาเอา ไว้อย่างไพเราะและงดงาม ทั้งในเนื้อหาคำทำนายยังแสดงถึงวัฒนธรรม ความปรารถนา และความต้องการของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโชคลาภ ความรัก และสุขภาพ ฯลฯ รวมทั้งได้ผสมผสานพุทธปรัชญาเอาไว้อีกด้วย

และเพื่อให้ครบถ้วนกระบวนความของการเสี่ยงเซียมซีแบบ ดั้งเดิมซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงทายอีกชนิดหนึ่งที่อ ยู่คู่กับเซียมซีมาอย่างช้านานเช่นกันนั่นคือ "ไม้ปวย" หรือ "ไม้คู่" ลักษณะเป็นไม้ชิ้นเล็กๆคล้ายกับพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ด้านหนึ่งแบนอีกด้านหนึ่งจะนูน ซึ่งจะประกบเข้าคู่กันได้พอดี หลังจากที่เขย่าได้ติ้วออกมา 1 อันแล้ว ก็จะต้องโยนไม้ปวยเพื่อยืนยันว่าติ้วอันนั้นเป็นหมาย เลขของคำทำนายของเราจริงๆ หรือไม่ ถ้าหากติ้วอันที่ได้เป็นหมายเลขคำทำนายของเราจริงหรื อไม่ เวลาเราโยนไม้ปวยก็จะได้อันหนึ่งคว่ำอีกอันหนึ่งหงาย แต่ถ้าติ้วอันนั้นไม่ใช่ของเราเวลาโยนไม้ปวยก็จะได้ค ว่ำหรือหงายเหมือนกันทั้ง 2 อัน หมายความว่าเราจะต้องไปเขย่าติ้วใหม่อีกครั้งแต่หากไ ด้ใบทำนายที่ไม่ดีก็จะมีการอธิษฐานและเสี่ยงใหม่จนกว ่าจะได้ใบทำนายที่ดี ส่วนใบที่ไม่ดีก็จะนำไปฝากไว้กับต้นไม้ที่วัด เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และฝากสิ่งที่ไม่ดีไว้กับว ัด บ้างก็ไปตีระฆังเพื่อความสบายใจของผู้เสี่ยงเอง


ไม้ปวย หรือ ไม้คู่

สำหรับเนื้อหาบนใบเซียมซีนั้นส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาที่ เป็นบทกลอนที่เป็นคติสอนใจต่างๆ ส่วนความเชื่อของคำทำนายนั้นก็ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นว ่าจะเชื่อถือหรือไม่ เซียมซีทุกใบแฝงด้วยปริศนาสอนธรรมต่างๆทั้งที่บอกโดย ตรงและบอกโดยนัย เนื้อหาในเซียมซีนั้นจะมีคำทำนายทั้งดีและไม่ดีปนกัน ไป ดังนั้นคำทำนายเซียมซีไม่ได้สอนให้หลงเชื่อและงมงายแ ต่เป็นการเสี่ยงทายเพื่อปลูกฝัง ให้กำลังใจ รวมทั้งเป็นเครื่องมือเตือนสติ ไม่ให้ประมาท แม้ศาสตร์แห่งการทำนายจะเกิดขึ้นมากมาย ทว่า การเสี่ยงเซียมซีทำนายชะตาชีวิตยังคงอยู่กับสังคมไทย จนทุกวันนี้
ไฟลล์แนบ: ระดับของกลุ่มสมาชิกนี้ไม่สามารถมองเห็นไฟลล์แนบได้
Sodazaa.com เปลี่ยนเป็น " Sodazaa.cc"

TOP

ขอบคุณมากๆๆจ้า

TOP