หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

อัศจรรย์! วันตรุษจีน เกิดสุริยุปราคาวงแหวน

อัศจรรย์! วันตรุษจีน เกิดสุริยุปราคาวงแหวน

เมื่อวานนี้ (17 มกราคม) นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า ในวันตรุษจีนปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 26 มกราคม หรือ วันชิวอิด คนไทยทั่วประเทศจะได้เห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สุริยุปราคาบางส่วน  และพร้อมๆ กันนี้ จะเกิดสุริยุปราคาวงแหวน ศูนย์กลางอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย มหาสมุทรอินเดีย และทวีปแอฟริกาตอนใต้

          นายวรวิทย์ กล่าวอีกว่า สุริยุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า "สุริยุปราคาเต็มดวง" และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นวงกลม โดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน เราเรียกว่า "วงแหวนสุริยุปาคา" ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน เราเรียกว่า "สุริยุปราคาบางส่วน"

          " การดูสุริยุปราคาในวันดังกล่าว ห้ามดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า ต้องใช้แผ่นกรองแสงไมร่าในการดูสุริยุปราคา หากไม่มีให้ใช้กระดาษแข็งเจาะรูเล็กๆ แล้วส่องไปที่พื้น ถ้าบ้านเป็นหลังคามุงสังกะสีหรือมุงกระเบื้องที่มีรูตะปู ให้ดูแสงที่ลอดรูตะปูที่ตกทอดอยู่ที่พื้นเป็นดวงกลม เมื่อเกิดสุริยุปราคาแสงวงกลมจะแหว่งตามลักษณะที่สุริยุปราคาเกิดขึ้น หรือควรดูผ่านกระจกรมควันหนาๆ แบบโบราณส่องดู และห้ามส่องดูนานๆ เพราะจะมีผลต่อสุขภาพตาได้" นายวรวิทย์ กล่าว

           สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูสุริยุปราคาในวันดังกล่าว มีกำหนดระยะช่วงเวลาที่เห็นได้ในแต่ละพื้นที่ดังนี้...

             กรุงเทพมหานคร : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 53 นาที 1 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 52วินาที โดยคราสจะสิ้นสุดเวลา 17 นาฬิกา 58 นาที 54 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 33.1%  

            เชียงใหม่ : เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 5 นาที 24 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 2 นาที 18 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 53 นาที 32 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 18.7 %

            หนองคาย : เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 2 นาที 1 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 2 นาที 24 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 56 นาที 28 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 25.3 %  

            อุตรดิตถ์ : เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 2 นาที 5 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 1 นาที 58 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 55 นาที 25 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 22.8%  

            พิษณุโลก : เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 0 นาที 8 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 1 นาที 36 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 56 นาที 28 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 24.9%

            อุดรธานี : เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 0 นาที 58 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 2 นาที 12 วินาที คราสสิ้นสุด  17 นาฬิกา 56 นาที 56 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 26.6 %  

            นครสวรรค์ : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 57 นาที 30 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 0 นาที 58 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 57 นาที 24 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 2725 %  

            นครราชสีมา : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 55 นาที 48 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 0 นาที 54 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 58 นาที 38 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 31.9%  

            อุบลราชธานี : เริ่มเข้าคราส  15 นาฬิกา 56 นาที 16 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 1 นาที 17 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 55 นาที 48 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 34.7%

            ชลบุรี : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 52 นาที 19 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 45 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 13 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 34.6 %  

            สุราษฎร์ธานี : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 42 นาที 45 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 56 นาที 7 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 59 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 43.6 %  

            ภูเก็ต : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 42 นาที 45 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 56 นาที 7 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 59 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 43.6%

            สงขลา : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 39 นาที 12 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 54 นาที 44 วินาที คราสสิ้นสุด 18 นาฬิกา 0 นาที 11 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 50.28 %  

            ปัตตานี : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 38 นาที 54 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 54 นาที 37 วินาที คราสสิ้นสุด 18 นาฬิกา 0 นาที 14 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 52.7  %

            ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 52 นาที 56 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 51 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 5 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบังไป 33.94 %

            หอดูดาวบัณฑิตจังหวัดฉะเชิงเทรา : เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 52 นาที 46 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 50 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 11 วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 34.40 %
ไฟลล์แนบ: ระดับของกลุ่มสมาชิกนี้ไม่สามารถมองเห็นไฟลล์แนบได้

TOP

อยากเห็นจังเลย

TOP

ขอบคุณครับ

TOP

ใจๆนะครับ

TOP

ลอง   อย่างเดียวเลย

TOP

ดีจังนะ

TOP