หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

6 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับสุขภาพ

6 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับสุขภาพ

1. ควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว จริงหรือ?
  การดื่มน้ำบริสุทธิ์วันละ 8 แก้วดีจริงหรือไม่ หนึ่งในคำแนะนำเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี  คือ การดื่มน้ำบริสุทธิ์วันละ 8 แก้ว (แก้วที่ว่ามีขนาดเท่ากับ 8 ออนซ์ โดยที่ 1 ลิตรเท่ากับ 33.6 ออนซ์ หรือประมาณ 4 แก้ว) จะทำให้เราเป็นคนสุขภาพดี ซึ่งไม่นับรวมไปถึงการดื่มกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม เบียร์หรือน้ำผลไม้ต่างๆ แล้วเราต้องการดื่มน้ำวันละมากถึง 8 แก้วต่อวันจริงหรือ?  คำถามนี้ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในไต หรือผู้ที่กำลังจะเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบต่างหาก แต่สำหรับคนปกติไม่จำเป็น
  ความเข้าใจผิดในการสรุปว่าต้องดื่มน้ำวันละ 8 แก้วนั้นเริ่มมาจากในปี ค.ศ. 1945 ของสหรัฐ เนื่องจากนักโภชนาการคำนวณเกินความจำเป็น เพราะไม่ได้นับรวมน้ำที่มีอยู่ในอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วย แทนที่จะให้แต่ละคนดื่มน้ำเมื่อรู้สึกกระหายและดับกระหายก็ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนักเพราะเมื่อร่างกายเราขาดน้ำสัญญาณประสาทที่จะส่งไปยังสมองนั้นจะช้าลง ทำให้เราไม่ได้รับสัญญาณประสาทว่าเรากำลังต้องการดื่มน้ำเพื่อทดแทนอาการขาดน้ำ แต่จะว่าไปแล้วร่างกายของเรานั้นได้แยกการกระหายน้ำออกจากความรู้สึกหิวอาหารอยู่แล้ว เพราะกระบวนการในการส่งสัญญาณไปที่สมองนั้นได้แยกออกจากกัน แต่คนเรานั้นบางครั้งก็สับสนกันระหว่างหิวน้ำกับหิวอาหาร
  นอกจากนี้งานวิจัยข้างต้นยังคำนวนผิดพลาดเนื่องจากคนเราไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเปล่าเสมอไป การดื่มชา กาแฟ ก็สามารถเพิ่มระดับน้ำในร่างกายได้ แต่การที่งานวิจัยข้างต้นไม่นับรวมเครื่องดื่มเหล่านี้เนื่องจากว่าพวกเขาคิดว่าเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมีฤทธิ์ในการขับปัสาวะ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายเสียน้ำมากกว่าที่จะได้รับน้ำเข้าไปในร่างกาย แต่ความเชื่อนี้ก็ถูกหักล้างลงในปีคศ. 2000 ที่ได้มีงานวิจัยออกมาแล้วว่าไม่มีความแตกต่างของปริมาณน้ำในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนกับน้ำเปล่า
Picture
ประเด็นของเรื่องการดื่มน้ำนี้อยู่ที่สุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นไม่ว่าจะดื่มน้ำเปล่า น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือแม้กระทั่งน้ำซุป เมื่อคำนวนแล้วว่ารวมกันได้มากถึง 8 แก้ว ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่วนคำถามที่ว่าการดื่มน้ำมากๆ ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ การดื่มน้ำมากๆ และการดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหารหรือก่อนมื้ออาหารนั้น จะทำให้ความอยากอาหารเราลดลงได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้เราน้ำหนักลดลง โดยที่เราไม่ต้องออกกำลังกาย
"จำนวนน้ำที่เราต้องการในแต่ละวันนั้น ต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละวันของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องเชื่อโบราณเขาว่าเสมอไป"
2. น้ำตาลทำให้เด็กไฮเปอร์
  คุณพ่อคุณแม่มักเชื่อว่า ถ้าลูกกินลูกอมลูกกวาด หรือของหวานมากเกินไป พวกเขาจะเริ่มอยู่ไม่สุข ลุกลี้ลุกลนหาอะไรทำอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าลูกตัวเองเป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เด็กส่วนใหญ่จะเป็นเด็กมีความแอคทีฟหรือซนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ถ้าพวกเขาชอบที่จะกระโดดขึ้นลงบนเตียงนอนมันก็เป็นแค่เรื่องธรรมดา เหมือนกิจวัตรประจำวันที่พวกเค้าจำเป็นต้องทำเป็นประจำเท่านั้นเอง
  โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit  Hyperactivity )หรือโรคADHDเป็นโรคทางจิตเวชในเด็กที่เกิดขึ้นโดยจะมีอาการก่อนอายุ 7 ปีซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของการพัฒนาสมองส่วนการควบคุมตนเอง  ทำให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์การเรียนและการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก   
   ในปี 1996 มีการทดลองสำหรับครอบครัวที่มีลูกที่อยู่ในช่วงอายุ 5-7 ปี เพื่อทดสอบแบบ blind study ไม่มีพ่อแม่คนใดที่ทราบว่าเด็กคนไหนรับประทานน้ำตาลและเด็กคนไหนรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาล (placebo)  นักวิจัยสามารถแบ่งกลุ่มความคิดของพ่อแม่ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มแรกพ่อแม่จะคิดว่าลูก ๆ ของเค้าได้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลเข้าไปเป็นจำนวนมาก ในขณะที่อีกกลุ่มพ่อแม่คิดว่าเป็นลูกได้ทานอาหารไม่มีน้ำตาล แต่ความเป็นจริงแล้วเด็กทั้งหมดรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาลทั้งหมด (sugar-free) แต่เมื่อพ่อแม่เห็นเด็กเล่นอย่างร่าเริง สนุกสนาน กลับมองว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นพฤติกรรมที่ตื่นตัวผิดปกติ (hyperactive) ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นแบบที่พ่อแม่คิดเลย จากการศึกษาของนักจิตวิทยา David Benton จากมหาวิทยาลัย Swansea พบว่าในเด็กที่มีอายุระหว่าง 9 ถึง 11 ปี หลังจากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลไปแล้วครึ่งชั่วโมง จะมีความสามารถในการจดจ่อต่อการเรียนรู้ มีสมาธิในการทำง่าน และได้คะแนนในการทำการทดสอบความทรงจำมากขึ้น ในขณะที่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจริงๆ นั้นจะไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดได้เลย
Picture
ถึงแม้กระนั้นก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองก็อย่าเพิ่งตามใจให้เด็กกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เพราะการให้กินน้ำตาลอาจช่วยให้มีสมาธิจริงแต่ผลของมันก็อยู่ไม่นาน อีกทั้งอาหารที่ไม่มีน้ำตาลนั้นจะช่วยให้ร่างกายรักษาระดับของน้ำตาลกลูโคสที่จะถูกส่งไปที่สมองได้ดีกว่า อีกทั้งอาจก่อให้เกิดโรคอ้วนในเด็กอีกด้วย

"ของหวาน/อาหารที่มีน้ำตาลเป็นแค่แหล่งพลังงานที่เด็กต้องการเพื่อที่จะได้สนุกสนาน กับเพื่อนๆ ก็แค่นั้นเอง"
3. ร่างกายของคนเราต้องการความช่วยเหลือในการล้างพิษ” (Detoxification)
เราอาศัยอยู่ในโลกที่ล้วนเต็มไปด้วยสารพิษ แม้กระทั่งขณะที่คุณกำลังหายใจอยู่ ณ ขณะนี้ก็ตาม หรือแม้กระทั่งอาหารในมือต่อไปก็อาจเต็มไปด้วยพิษที่มาจากธรรมชาติไปจนถึงยาฆ่าแมลงและมลภาวะต่างๆ รายงานฉบับล่าสุดจาก Human Exposure to Environmental Chemicals กังวลเกี่ยวกับระดับของสารพิษจำนวนมาก เช่น โลหะหนัก dioxins หรือ PCBs และพทาเลท ที่ถูกใส่ลงในผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ ซึ่งถูกตรวจพบในเลือดและปัสสาวะชาวอเมริกัน

คำถามก็คือ เราสามารถทำอะไรได้บ้างกับสารพิษในร่างกาย??? จากคำถามนี้ทำให้มีคนคิดวิธีการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายหรือดีท็อกซ์ (detox)  การดีท็อกซ์มีหลากหลายวิธีแต่ทุกวิธีล้วนแล้วแต่เชื่อว่าสามารถกำจัดของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกายได้จริง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการทำดีท็อกซ์สามารถกำจัดสารพิษได้จริงหรืออาจเป็นการทำร้ายร่างกายเพิ่มมากขึ้นกันแน่

สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายส่วนมากจะถูกย่อยสลายและ/หรือขับออกจากร่างกายภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่สำหรับสารบางชนิดอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี ในการกำจัดสารเหล่านั้นออกจากร่างกายโดยเฉพาะสารเคมีบางชนิดที่ละลายในไขมันเช่น dioxin และ PCBs ซึ่งโปรแกรมการดีท็อกซ์ส่วนมากสนับสนุนให้รับประทานเฉพาะของเหลว ผลจากการทำดีท็อกซ์แบบนี้ไม่ได้ทำให้ระดับของสารพิษที่สะสมมาร่วมปีลดลงแต่อย่างใด

ยิ่งไปกว่านั้นการอดอาหารหรือการควบคุมอาหารจะทำให้สารเคมีที่ละลายอยู่ในไขมันถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าที่จะกำจัดออกไปจากร่างกาย  จากการศึกษาระดับของยาฆ่าแมลงในกลุ่มของ organochlorines และยากำจัดศัตรูพืชในเลือด พบว่าผู้ที่สูญเสียน้ำหนักอย่างรวดเร็วจะพบสารเคมีทั้งสองชนิดในเลือดเพิ่มมากขึ้น 25 – 50% และจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารเคมีเหล่านี้ถูกพบมากขึ้นในเนื้อเยื่อร่างกายเช่น กล้ามเนื้อและสมอง ซึ่งมีผลอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าตอนที่สารเคมีเหล่านี้ละลายอยู่ในไขมัน

การทำดีท็อกซ์อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการผลักสารเคมีออกจากไขมันเข้าสู่ระบบเลือด ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางร่างกายอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสารเคมีเหล่านี้เป็นพิษต่อระบบต่อมไร้ท่อ เนื่องจากไม่มีงานวิจัยใดยืนยันว่าสารเคมีที่ออกจากไขมันเข้าสู่กระแสเลือดจะถูกขับออกจากร่างกาย นอกจากนี้การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วอาจเกิดปัญหา โย โย่ เอฟเฟ็ค (yo-yo effect) ตามมาอีกด้วย

แต่ใช่ว่าการดีท็อกซ์จะมีผลเสียเสมอไป วิธีการดีท็อกซ์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพเช่น วิธี lifelong detox เป็นการดีท็อกซ์แบบง่ายๆ เพียงแค่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย และหลีกเลี่ยงสารเคมีเท่าที่ทำได้ทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและที่อื่นๆ เท่านั้นเอง เช่น  งดดื่มเหล้า, สูบบุหรี่ หรือสูดควันต่างๆ เป็นต้น
4. ยาต้านอนุมูลอิสระช่วยให้อายุยืน
    เซลล์ทุกเซลล์จะมีการรับสารอาหารที่จำเป็น และเกิดกระบวนการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งกระบวนการเผาผลาญนี้เองจะทำให้เกิดของเสียหรือสิ่งที่เป็นพิษ และยังทำให้เกิดอนุมูลอิสระ หรือ Free radical ซึ่งถือว่าเป็นพิษต่อเซลล์  นอกจากนี้อนุมูลอิสระอาจเกิดจากการได้รับมลพิษต่างๆ เข้าไปเช่น โอโซน โลหะหนัก ควันบุหรี่ เป็นต้น
    อนุมูลอิสระจะทำให้เซลล์และส่วนประกอบของเซลล์เกิดปฏิกริยา Oxidation ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย และยังทำลายโครงสร้าง/หน้าที่ของผนังเซลล์ ก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ เช่นโรคชรา (แก่ก่อนวัย) โรคหลอดเลือด และหัวใจขาดเลือด โรคเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงการกลายพันธุ์ของเซลล์ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ ร่างกายของเราจะสร้างอนุมูลอิสระนี้ตลอดเวลา จึงต้องมีกลไกในการควบคุมสารนี้และผลผลิตของมันเพื่อไม่ให้ลุกลามไปทำร้ายร่างกายของเรา
   โดยปกติร่างกายจะมีการป้องกันหรือลดกระบวนการ Oxidation โดยการสร้างสารต่างๆ ขึ้นมาต่อต้านกระบวนการ oxidation หรือเรียกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) สารต้านอนุมูลอิสระบางส่วนก็ได้จากอาหารที่กินเข้าไป เช่น วิตามิน A, E,C ที่ได้จากผักผลไม้บางชนิด เป็นต้น
    ในปัจจุบันได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระออกมาเป็นจำนวนมาก มีการโฆษณาชวนเชื่อหลากหลายว่าสามารถชะลอความแก่และป้องกันโรคได้ จึงทำให้คนหันมาสนใจเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระกันมากขึ้น แล้วยาต้านอนุมูลอิสระที่มีขายกันสามารถลด/ป้องกัน/ขจัดโรคได้จริงหรือ?
Picture
   ความเชื่อนี้เริ่มมีมาตั้งแต่คศ. 1970 ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาเคมี Linus Pauling ที่สรุปว่าวิตามินรวมที่มีโดสสูงจะสามารถชะลอโรคได้โดยไม่รอผลการทดลองหรือหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น เมื่องานนี้ออกสู่สาธารณะทำให้ประชาชนเกิดความต้องการรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระ จนเกิดเป็นธุรกิจ/โรงงานผลิตยาต้านอนุมูลอิสระขึ้น และกระแสก็ซาเงียบหายไป จนกระทั่งปีคศ. 1990 หลังจากได้มีการศึกษาอย่างจริงจังมากขึ้นจนพบอีกว่า เบต้าแคโรทีน วิตามินอี และวิตามินซี ก็มีกลไกการทำงานเหมือนกับสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน จึงเกิดเป็นกระแสนิยมประชาชนแห่กันรับประทานอีกครั้ง
   แต่ความเชื่อเหล่านั้นก็เริ่มถูกทำลายลงจากการแสดงหลักฐานในปี 2007 ที่ได้มีการศึกษาในประชากรกว่า 230,000 คน ที่รับประทานสารต้านอนุมูลอิสระว่าไม่ได้ทำให้อายุยืนมากขึ้นเหี่ยวช้าลง แต่ยังพบว่าผู้ที่ทานเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และวิตามินอี ดูเหมือนจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น การเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นนี้ นักวิจัยคาดว่าน่าจะเกิดจากเพราะในร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระมากเกินไปจนกระทั่งเซลล์ต้องผลิตอนุมูลอิสระเพื่อมาต่อสู้นั่นเอง
   สารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากอาหารก็มากเพียงพอที่จะต่อสู้กับอนุมูลอิสระแล้วไม่จำเป็นต้องหาอาหารเสริมเหล่านี้มากินเพิ่มแต่อย่างใด นอกจากผักผลไม้สดจะให้สารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังช่วยให้ได้รับวิตามินชนิดอื่นๆ แร่ธาตุต่างๆ และยังช่วยในระบบขับถ่าย ตัวอย่างอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่น  ปลาทูน่า เนื้อสัตว์ ตับ ไก่ ปลา ผักที่มีสีเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เป็นต้น

"การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และการออกกำลังกาย ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง ยิ่งกว่ายาผีบอก"

5. อ้วนเกินเกณฑ์นิดหน่อยทำให้อายุสั้นลง
   เป็นเรื่องจริงที่ว่า ถ้าคุณเป็นโรคอ้วนแล้วจะมีสุขภาพแย่ โดยเฉพาะถ้าคุณมีค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) มากกว่า 40 มันจะส่งผลให้คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคหัวใจ, โรคมะเร็งบางชนิด และยังเพิ่มความเสี่ยงการตายจากสาเหตุอื่นๆ อีก 29%
   แต่บางครั้งกลับมีคำพูดเกินจริงเช่น การที่น้ำหนักเพิ่มขึ่นอีก 4-6 กิโลกรัม ก็เหมือนซื้อตั๋วเที่ยวเดียวไปสู่ความตาย ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษากลุ่มประชากรเกือบ 3 ล้านคน มาโต้แย้งคำพูดเกินจริงเหล่านั้น เช่น
Picture
  งานวิจัยของ Katherine Flegal จาก US Center for disease Control พบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่ยังมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 25 – 29 จะสามารถป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการที่น้ำหนักตัวเพิ่มได้ โดยสามารถลดอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตลงได้ 6% เมื่อเทียบกับคนที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.5 – 25 เป็นต้น แต่เหตุผลที่จะสามารถนำมาอธิบายว่าทำไมผู้ที่อ้วนกว่าถึงมีสุขภาพที่ดีกว่า ก็มีการคาดเดาไปต่างๆ นาๆ ว่าการที่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจไปส่งผลต่อกระบวนการต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกายให้มากขึ้น หรือการที่ตนเองมีน้ำหนักตัวมากทำให้มีแนวโน้มที่จะได้รับความดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยของ Katherine Flegal ไม่ได้บอกว่าคุณสามารถกินทุกอย่างตามใจปาก เพราะการที่มีน้ำหนักเกิน (BMI > 40) ก็ยังคงส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตอยู่ดี
6. เราควรกินและอยู่แบบมนุษย์ยุคหิน
ปัจจุบันมีความเชื่อแปลกๆ เกิดขึ้นมากมายรวมถึงเรื่องอาหารการกิน เช่น ร่างกายของเราไม่ได้มีวิวัฒนาการมาเพื่อนอนอยู่บนโซฟาดูทีวี หรือกินขนมขบเคี้ยว ไอศกรีม ต่างๆ แต่เพื่อให้เราวิ่งล่าสัตว์ เก็บผักผลไม้ เฉกเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของเรา S. Boyd Eaton และ Melvin Konner ได้เสนอสมมติฐานเรื่องความไม่ลงรอยกันเรื่องวิวัฒนาการ (evolutionary discordance hypothesis) เมื่อปี คศ. 1985 ส่วนหนึ่งของสมมติฐานได้กล่าวว่า ในขณะที่ยีนของเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 50,000 ปี แต่อาหารการกินของเราและชีวิตความเป็นอยู่     ของเราเปลี่ยนไปอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มมีการทำเกษตรกรรมเมื่อราวๆ 10,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะมีวิวัฒนาการรับกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ทัน จึงเกิดคำถามว่าเพราะอาหารการกินที่เปลี่ยนไปทำให้คนเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากร่างกายเราไม่ได้มีวิวัฒนาการมาเพื่อสิ่งเหล่านี้ใช่หรือไม่ หรือถ้าเราออกกำลังกายให้มากขึ้น กินแต่เนื้อที่หามาได้ (เหมือนบรรพบุรุษทีต้องคอยไปล่าสัตว์) จะทำให้เรามีร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพดีขึ้น ตลอดจนมีความสุขมากขึ้นหรือไม่
  เมื่อไม่กี่ปีที่มาได้มีการคิดค้นวิธีการรับประทานอาหารแบบพาเลโอ (paleo Paleo Diet: PD) หรือการกินอาหารแบบมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก หลักการกินแบบพาเลโอก็คือ การกินผัก ผลไม้ ปลา และถั่วเป็นหลัก โดยหลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูปทุกชนิด และอาหารที่ผ่านกระบวนการ พร้อมทั้งออกกำลังกาย

อ่านบทความดีต่อได้ที่นี่ คลิก

TOP

  ขอก๊อบเอาไว้อ่านต่อนะคะ ยาวมากแต่น่าสนใจค่ะ

TOP