หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

10 ยุทธวิธี ซื้อบ้านไม่ให้ถูกหลอก

10 ยุทธวิธี ซื้อบ้านไม่ให้ถูกหลอก

10 ยุทธวิธี ซื้อบ้านไม่ให้ถูกหลอก

          ปัจจุบันโครงการบ้านสวยๆ เกิดขึ้นมากมาย แถมมีโปรโมชั่นล่อตาล่อใจ ชวนให้ใครหลายคนนึกอยากมีบ้านเป็นของตัวเองการเลือกซื้อบ้านสักหลัง แม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะมีรายละเอียดหลากหลายที่ต้องคำนึง บางคนใช้เงินเก็บเกือบครึ่งค่อนชีวิตหมด แต่กลับไม่ได้บ้านดังใจฝัน ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้จะช่วยให้การตัดสินใจของคุณไม่ผิดพลาด

          1. เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกเวนคืนหรือไม่  

          สอบถามข้อมูลได้ที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กองวิเคราะห์โครงการ โทร 0-2579-5380-9 ต่อ 2508,2512 กรมทางหลวง โทร.0-2345-6659-60 กรมโยธาธิการ โทร.0-2299-4315, 0-2299-4327

         2. เป็นที่ติดจำนองอยู่หรือไม่  

          สามารถนำเลขที่โฉนดไปตรวจสอบได้ที่กรมที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โทร.0-2629-7048-53 หรือเว็บไซต์ที่ลิงค์โดยตรงกับข้อมูล สคบ. ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบชื่อโครงการที่มีปัญหาได้ที่ http://www.homedd.com/HomeddWeb/ ... ntweb/index_skb.jsp

          3. ตรวจสอบใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน

          ตรวจสอบใบอนุญาตจัดสรรที่ดินได้จากผู้ประกอบการหรือขอตรวจสอบได้ที่กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดโครงการนั้นตั้งอยู่ พร้อมทั้งตรวจสอบด้วยว่าโครงการได้รับการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนเดียวกับที่ได้ทำสัญญาหรือไม่

          4. อยู่ในเขตน้ำท่วมหรือมีการทรุดตัวของแผ่นดินหรือไม่  

          สามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานเขตกรุงเทพฯ ทุกแห่ง ซึ่งพื้นที่โครงการควรมีการปรับระดับสูงกว่าถนนสาธารณะภายนอกโครงการ

         5. โครงการอยู่ในย่านที่ผังเมืองกำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยหรือเป็นพื้นที่สีเขียว  

          ซึ่งควรตรวจสอบให้แน่ชัดโดยรอบบริเวณโครงการทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน โรงงานบางแห่งมีการดำเนินการเฉพาะช่วงกลางคืน ฉะนั้นเมื่อเข้าไปดูโครงการตอนกลางวันอาจจะไม่ได้กลิ่นหรือควันอันเกิดจากการเดินเครื่องจักร

         6. มีการป้องกันปัญหาการแปรสภาพบ้านไปเป็นโรงงาน ร้านค้าหรืออื่นๆ หรือไม่

          7. ดูสภาพชุมชนแวดล้อมรอบๆ  

          เช่น เพื่อนบ้านหรือผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และอยู่ในย่านใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานีตำรวจ ตลาดหรือไม่ รวมทั้งระบบการรักษาความปลอดภัยมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

         8. มีระบบขนส่งมวลชนรองรับอย่างไร  

          การจราจรติดขัดสาหัสหรือคล่องตัว

          9. ระบบสาธารณูปโภค  

          เช่น ถนนภายในหมู่บ้าน ระบบไฟฟ้า โทรศํพท์ น้ำปะปา และการระบายน้ำเสียเป็นเช่นไร มีโครงการจำนวนไม่น้อยที่อยู่นอกเขตการให้บริการของกรมประปานครหลวงผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องขออนุญาตขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในโครงการ ดังนั้นควรตรวจสอบว่าในกรณีนี้ค่าน้ำจะมีการจัดเก็บอย่างไร และใครเป็นผู้ดูแลดำเนินการพื้นที่โครงการ

          10. ควรตรวจเช็คสัญญาต่างๆให้ละเอียด  

          ทั้งเงินดาวน์ ดอกเบี้ย ค่างวด ระยะเวลาผ่อน และการโอนโฉนดปัจจุบันการผ่อนชำระสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย กับสถาบันการเงินมีทั้งดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยลอยตัว ผู้ซื้อควรตรวจสอบกับสถาบันการเงินว่า อัตราดอกเบี้ยแบบใดที่เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนชำระ และเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยแบบนั้น รวมถึงภาระผูกพันของที่ดินหรือโครงการที่มีต่อสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ประกอบการได้ขอสินเชื่อมาเพื่อดำเนินโครงการ โดยนำที่ดินที่ทำการจัดสรรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

          ฉะนั้นผู้ซื้อควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่า เมื่อถึงระยะเวลาโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ภาระผูกพันนี้ยังคงอยู่หรือสามารถปลดจำนองได้ทันที



          ปัจจุบันโครงการบ้านสวยๆ เกิดขึ้นมากมาย แถมมีโปรโมชั่นล่อตาล่อใจ ชวนให้ใครหลายคนนึกอยากมีบ้านเป็นของตัวเองการเลือกซื้อบ้านสักหลัง แม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะมีรายละเอียดหลากหลายที่ต้องคำนึง บางคนใช้เงินเก็บเกือบครึ่งค่อนชีวิตหมด แต่กลับไม่ได้บ้านดังใจฝัน ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้จะช่วยให้การตัดสินใจของคุณไม่ผิดพลาด

          1. เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกเวนคืนหรือไม่  

          สอบถามข้อมูลได้ที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กองวิเคราะห์โครงการ โทร 0-2579-5380-9 ต่อ 2508,2512 กรมทางหลวง โทร.0-2345-6659-60 กรมโยธาธิการ โทร.0-2299-4315, 0-2299-4327

         2. เป็นที่ติดจำนองอยู่หรือไม่  

          สามารถนำเลขที่โฉนดไปตรวจสอบได้ที่กรมที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โทร.0-2629-7048-53 หรือเว็บไซต์ที่ลิงค์โดยตรงกับข้อมูล สคบ. ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบชื่อโครงการที่มีปัญหาได้ที่ http://www.homedd.com/HomeddWeb/ ... ntweb/index_skb.jsp

          3. ตรวจสอบใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน

          ตรวจสอบใบอนุญาตจัดสรรที่ดินได้จากผู้ประกอบการหรือขอตรวจสอบได้ที่กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดโครงการนั้นตั้งอยู่ พร้อมทั้งตรวจสอบด้วยว่าโครงการได้รับการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนเดียวกับที่ได้ทำสัญญาหรือไม่

          4. อยู่ในเขตน้ำท่วมหรือมีการทรุดตัวของแผ่นดินหรือไม่  

          สามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานเขตกรุงเทพฯ ทุกแห่ง ซึ่งพื้นที่โครงการควรมีการปรับระดับสูงกว่าถนนสาธารณะภายนอกโครงการ

         5. โครงการอยู่ในย่านที่ผังเมืองกำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยหรือเป็นพื้นที่สีเขียว  

          ซึ่งควรตรวจสอบให้แน่ชัดโดยรอบบริเวณโครงการทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน โรงงานบางแห่งมีการดำเนินการเฉพาะช่วงกลางคืน ฉะนั้นเมื่อเข้าไปดูโครงการตอนกลางวันอาจจะไม่ได้กลิ่นหรือควันอันเกิดจากการเดินเครื่องจักร

         6. มีการป้องกันปัญหาการแปรสภาพบ้านไปเป็นโรงงาน ร้านค้าหรืออื่นๆ หรือไม่

          7. ดูสภาพชุมชนแวดล้อมรอบๆ  

          เช่น เพื่อนบ้านหรือผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และอยู่ในย่านใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานีตำรวจ ตลาดหรือไม่ รวมทั้งระบบการรักษาความปลอดภัยมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

         8. มีระบบขนส่งมวลชนรองรับอย่างไร  

          การจราจรติดขัดสาหัสหรือคล่องตัว

          9. ระบบสาธารณูปโภค  

          เช่น ถนนภายในหมู่บ้าน ระบบไฟฟ้า โทรศํพท์ น้ำปะปา และการระบายน้ำเสียเป็นเช่นไร มีโครงการจำนวนไม่น้อยที่อยู่นอกเขตการให้บริการของกรมประปานครหลวงผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องขออนุญาตขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในโครงการ ดังนั้นควรตรวจสอบว่าในกรณีนี้ค่าน้ำจะมีการจัดเก็บอย่างไร และใครเป็นผู้ดูแลดำเนินการพื้นที่โครงการ

          10. ควรตรวจเช็คสัญญาต่างๆให้ละเอียด  

          ทั้งเงินดาวน์ ดอกเบี้ย ค่างวด ระยะเวลาผ่อน และการโอนโฉนดปัจจุบันการผ่อนชำระสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย กับสถาบันการเงินมีทั้งดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยลอยตัว ผู้ซื้อควรตรวจสอบกับสถาบันการเงินว่า อัตราดอกเบี้ยแบบใดที่เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนชำระ และเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยแบบนั้น รวมถึงภาระผูกพันของที่ดินหรือโครงการที่มีต่อสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ประกอบการได้ขอสินเชื่อมาเพื่อดำเนินโครงการ โดยนำที่ดินที่ทำการจัดสรรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

          ฉะนั้นผู้ซื้อควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่า เมื่อถึงระยะเวลาโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ภาระผูกพันนี้ยังคงอยู่หรือสามารถปลดจำนองได้ทันที

TOP

ที่ 1 โว้ยยยยย

TOP

ขอบคุณครับ เป็นความรู้ดีมากเลย

TOP