หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

รู้จักบายพาสหัวใจ รักษาอย่างไรเมื่อเข้าใกล้เส้นเลือดหัวใจตีบ!

รู้จักบายพาสหัวใจ รักษาอย่างไรเมื่อเข้าใกล้เส้นเลือดหัวใจตีบ!

จากสถิติการตายของคนไทยที่พบในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันไม่ใช่โรคอันตราย เพราะคนไทยจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคนี้ไปเป็นถึงอันดับที่สองรองจากมะเร็งเท่านั้น!

สาเหตุส่วนนึงอาจเกิดจากปัจจุบันคนไทยนิยมรับประทานอาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดตมากขึ้น บวกกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ทำให้คนไทยออกกำลังกายน้อยลงและมีความเครียดมากขึ้น รวมถึงอาจมาจากกรรมพันธ์อีกด้วย แต่ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะไม่มีอาการแจ้งเตือนก่อน มักจะมารู้ตัวว่าป่วยก็ต่อเมื่อเป็นในระยะหลังขั้นรุนแรงแล้ว ดังนั้นหากศัลยแพทย์ได้ตรวจพบเจอว่าผู้ป่วยเป็นโรคเส้นหลอดเลือดหัวใจตีบ ก็จะทำการรักษาโดยใช้วิธีผ่าตัดเพื่อให้ทันเวลา ซึ่งวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันนั้นคือ “การทำบายพาสหัวใจ”หรือวิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
โดยจะมี 2 วิธี  คือ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม(Off-Pump CABG) หรือแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ และการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม(On Pump CABG) หรือแบบหยุดหัวใจ
                ในการทำบายพาสหัวใจนั้น แพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้าย และเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านใน  มาเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดโดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ
“กรณีแพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี อาจรักษาด้วยการทานยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียว ก็ทานยา หรือ ใส่ขดลวดบอลลูนได้”

                 โดยทั่วไปแพทย์หัวใจจะใช้วิธีการผ่าตัดบายพาสแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม  เพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทั้งหมด  แต่ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ  แพทย์หัวใจจะมีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดบายพาสแบบหัวใจยังเต้นอยู่  โดยใช้เครื่องมือเกาะยึดหัวใจให้หยุดนิ่ง ซึ่่งมีข้อดีของการผ่าตัดแบบนี้คือ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแทรกซ้อนจากเครื่องปอดหัวใจเทียม แต่ก็อาจพบได้ 2-3% กรณีผู้ป่วยมีปัญหาโรคแทรกซ้อนอื่น เช่น ไตวายชั่วคราว  stroke หลังผ่าตัด   เลือดไม่แข็งตัวทำให้เลือดออกไม่หยุด เป็นต้น แต่ก็เป็นหนึ่งวิธีที่ทำให้ใช้ปริมาณเลือดน้อยลง และลดระยะเวลาในการผ่าตัดและการดมยาสลบให้สั้นลง  ตลอดจนระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลก็สั้นกว่าแบบผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ

            “ปัจจุบันการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจของไทย มีการทำทั้งสองแบบ แต่ผ่าตัดแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ เป็นเทคโนโลยีแนวใหม่ที่นำมาใช้เมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา  ขณะที่แบบเดิมหรือผ่าตัดโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ทำกันมากว่า 40 ปีในส่วนโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพของเราได้มีการพัฒนาการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ  ซึ่งให้ผลการรักษาดีกว่าแบบเดิม  แต่จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างในการต่อเส้นข้างใต้หัวใจที่หัวใจยังเต้นอยู่  แต่ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางและชำนาญจึงลดความเสี่ยงและมั่นใจได้”
ทั้งนี้ในปัจจุบันโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีทีมศัลยกรรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดบายพาสโรคหัวใจ สามารถรองรับผู้ป่วยผ่าตัด1-2 รายต่อวัน นอกจากมีทีมแพทย์ที่มีความชำนาญด้านโรคหัวใจแล้ว ยังพร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาผ่าตัดโรคหัวใจอีกด้วย

ที่มาของข้อมูล: https://www.bangkokhospital.com/hearthospital/en/heart-health-info/heart-disease-and-treatment/41/full_detail

TOP