Board logo

ชื่อกระทู้: ป้องกันโรคหัวใจ ด้วยสารโฟเลต [พิมพ์หน้านี้]

โดย: soda    เวลา: 2009-8-20 19:37     ชื่อกระทู้: ป้องกันโรคหัวใจ ด้วยสารโฟเลต

ป้องกันโรคหัวใจ ด้วยสารโฟเลต



โฟเลต (folate) หรือ วิตามินบี 9 เป็นวิตามินที่ละลายในนํ้า ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 เมื่อ Lucy Wills รายงานว่าสารสกัดจากยีสต์สามารถรักษาภาวะโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติกในหญิงตั้งครรภ์ได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 สารนี้ได้ ถูกพบในพืชผักอีกหลายชนิด เช่น ผักขม อัลฟาฟา จึงถูกเรียกว่า “โฟเลต” ซึ่งมาจากคำในภาษาลาตินว่า “folium” หมายถึงใบไม้ เมื่อเอ่ยถึงสารโฟเลต จึงทำให้นึกถึงใบไม้ ใบหญ้า ผักใบเขียว

แหล่งของสารโฟเลต
คือ อาหารจำพวกผักใบเขียว ยีสต์ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลิสง ส้ม มะนาว มะเขือเทศ เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ส่วนเนื้อสัตว์มีโฟเลตในปริมาณตํ่า


ผักใบเขียวที่มีปริมาณโฟเลตสูง
ประโยชน์ต่อร่างกาย

ความสำคัญของโฟเลต




ความต้องการโฟเลตในแต่ละวัน


สารโฟเลตรักษา และป้องกันโรคหัวใจ
ในปัจจุบันมีการศึกษาเป็นที่ยืนยันแล้วว่า ภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูงมีความสัมพันธ์เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และการให้สารโฟเลต ร่วมกับวิตามินบี 6 และ บี 12 จะช่วยลดภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนเลือดสูงได้
การให้สารโฟเลตร่วมกับการให้วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 สามารถลดระดับของสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการให้สารโฟเลตปริมาณ 1 กรัมต่อวัน ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ

แม้ว่ายังไม่มีการแนะนำอย่างเป็นทางการในการให้ใช้สารโฟเลตในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
แต่จากการที่สารโฟเลตสกัดในรูปเม็ดยานั้นเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย และราคามีราคาถูก รวมถึงยังไม่พบผลข้างเคียงในการรักษาใดๆ แพทย์ทั่วไปจึงนิยมใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย

โฟเลตสามารถช่วยป้องกันหัวใจได้หลายวิธี ประการแรก โฟเลตสามารถช่วยลดสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคหัวใจ และอันตรายจากโคเลสเตอรอล และโฮโมซิสเทอีน ซึ่งทั้งสองชนิดสามารถทำลายหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดการปวดหน้าอก และลดอัตราการตายลง


การเสริมโฟเลตในอาหาร
เนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถสังเคราะห์โฟเลตได้เอง อาหารจึงเป็นแหล่งที่สำคัญของวิตามินชนิดนี้ แต่ละชนิดมักมีโฟเลตในปริมาณตํ่า การป้องกันการขาดโฟเลตจึงอาจทำได้โดยการบริโภคอาหารที่มีโฟเลตสูง การรับประทานวิตามินเสริมรวมถึงการเติมกรดโฟลิกในอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน

นอกจากการเติมกรดโฟลิกในผลิตภัณฑ์อาหารโดยตรงแล้ว ปัจจุบันมีความพยายามในการนำ วิธีการทางชีวภาพมาใช้เพิ่มปริมาณโฟเลตในพืชที่ใช้เป็นอาหาร วิธีนี้อาศัยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมมาควบคุม หรือดัดแปลงเมตะบอลิสซึมของโฟเลต เพื่อให้พืชสามารถสร้างโฟเลตได้ปริมาณเพิ่มขึ้น
โดย: takishi15    เวลา: 2009-9-7 19:26

  ขอบใจ
โดย: diehard    เวลา: 2010-1-12 16:22

ใจจ้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ




ยินดีต้อนรับสู่ หน้าแรก เว็บบอร์ด (http://forum.soodaza.com/) Powered by Discuz! 6.0.0