หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

สงครามเย็นครั้งที่2 หรือสงครามโลกครั้งที่3

สงครามเย็นครั้งที่2 หรือสงครามโลกครั้งที่3

สงครามเย็นครั้งที่2 หรือสงครามโลกครั้งที่3

สงครามระหว่าง รัสเซียกับจอเจียมีโอกาสมากน้อย แค่ไหน ที่ จะ เป็น สงครามโลก หรือ สงครามเย็นมา วิเคราะกัน เล่นๆ นะครับเรื่อมมมม

เรื่อม จากจุดเรื่อมต้นของ สงครามเย็น เอาแบบ ย่อๆ



  สงครามเย็น เป็นสงครามที่เกิดจากการปะทะกันระหว่างสหรัฐอเมริกา (เสรีประชาธิปไตย) และ สหภาพโซเวียต (คอมมิวนิสต์)
ซึ่งจะขอรวมเอาเอาไว้ ทั้งหน่วยงานสำคัญ,สถานที่ต่างๆ เป็นต้น
  
Cold war: สงครามเย็น

  เป็นลักษณะการเผชิญหน้า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คำว่าสงครามเย็นเป็นคำใหม่ ที่เกิดขึ้นก่อนสงครามยุติลง และเรียกต่อมาเป็นการอธิบายลักษณะความตึงเครียดระหว่างประเทศ หรือระหว่างกลุ่มที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ เพราะถ้ามีการใช้อาวุธ สถานการณ์จะเปลี่ยนไป เป็นสงครามร้อน (hot war) ซึ่งจะมีขอบเขตกว้างขวางและก่ออันตรายอย่างใหญ่หลวงแก่มนุษยชาติ วิธีการที่ใช้มากในสงครามเย็น คือการโฆษณาชวนเชื่อ สงครามจิตวิทยา การแข่งขันกันทางกำลังอาวุธ และการสร้างความนิยมลัทธิของตน ในประเทศเล็กๆ ที่อาจถูกรวมเข้ามาเป็นประเทศบริวารของแต่ละฝ่าย
  สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ.1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี ซึ่งทำให้สหรัฐเริ่มตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของตน ที่จะต้องเป็นผู้นำต่อต้าน แผนการยึดครองโลกของสหภาพโซเวียต ที่เป็นผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์

  การแบ่งสถานภาพของประเทศต่างๆในสมัยสงครามเย็นคือ

  1) ประเทศมหาอำนาจ (Big Powers) คือประเทศพัฒนาแล้ว หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม มีภาระหน้าที่นำอารยธรรมไปเผยแพร่ยังประเทศที่ล้าหลัง ทั้งหมดเป็นการสร้างลักษณะจักรวรรดินิยมใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือการล่าเมืองขึ้นและยึดครองประเทศอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย มีจุดประสงค์เบื้องลึกคือความต้องการตลาดระบายสินค้า ต้องการแรงงานราคาถูก และต้องการทรัพยากรในประเทศนั้นมาใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมของตน

  2) ประเทศด้อยพัฒนา (Underdeveloped Countries) คือประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือมีการพัฒนาในระดับต่ำ ประเทศเหล่านี้จะมีความล้าหลังทางเทคโนโลยี มีฐานะเป็นประเทศพึ่งพา (dependent) และต้องเผชิญหน้าการล่าอาณานิคมของขาติตะวันตก ส่วนมากเป็นประเทศในเอเชียและแอฟริกา

  3) ประเทศอภิมหาอำนาจ (Super Powers) คือประเทศที่ปรากฎความสำคัญขึ้นมา แทนมหาอำนาจตะวันตก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีลักษณะเป็นประเทศภาคพื้นทวีป (Continental Character) มีการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง และเป็นผู้นำลัทธิการเมืองสองฝ่ายคือฝ่ายโลกเสรีและฝ่ายคอมมิวนิสต์

  ระยะสงครามเย็น

  1) ค.ศ. 1947-1949 เป็นระยะความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยการประกาศแผนการณ์ทรูแมน (Truman Doctrine) วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1947 กับการประกาศแผนการมาร์แชลล์ เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรป (The Marshall Plan) การขยายอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปตะวันออก และการแบ่งแยกเยอรมนีเป็นต้น

  2) ค.ศ.1950-1960 เป็นระยะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เข้ามามีบทบาทในวงการเมืองระหว่างประเทศ เกิดวิกฤตการณ์หลายอย่าง เช่นสงครามเกาหลี สงครามเวียดนามและการรุกรานทิเบตของจีน เป็นต้น

  3) ทศวรรษที่ 1960 เป็นระยะการอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-existence) คือการสร้างความสัมพันธ์แบบไม่เผชิญหน้า ซึ่งเป็นนโยบายของนายนิกิตา ครุสชอฟทำให้เกิดความคิดแตกแยกระหว่างสหภาพโซเวียตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

  4) ทศวรรษที่ 1970 เป็นระยะการผ่อนคลายความตึงเครียด (Detente) คือการแตกขั้วอำนาจระหว่างสองค่ายประชาธิปไตย และคอมมิวนิสต์ที่สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเผชิญหน้ากันอยู่ ได้เพิ่มขั้วจีนคอมมิวนิสต์เข้ามา เริ่มจากการไปเยือนจีนของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันของสหรัฐเดินทางไปเยือนจีน ค.ศ.1972 เยือนสหภาพโซเวียต ค.ศ.1973 และต่อมาประธานาธิบดีเบรสเนฟของสหภาพโซเวียต ก็เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาด้วย

  5) ค.ศ.1985-1991 นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) เสนอนโยบายกล็าสนอสต์-เปเรสทรอยกา (Glasnost-Perestroika) หรือนโยบายเปิด-ปรับ (openness-reconstructuring) ทางการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต จนถึง ค.ศ.1989 เริ่มมีการทำลายกำแพงเบอร์ลิน และเยอรมนีตะวันออกกับตะวันตกสามารถรวมประเทศสำเร็จ ในค.ศ. 1990-91 ประเทศกลุ่มบอลติก (ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย) ก็ขอแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต

  นายมิคาอิล กอร์บาชอฟได้เป็นประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งในสภา แทนการแต่งตั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์ดังที่ผ่านมา มีการประชุมสุดยอดที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาเป็นการยุติสงครามเย็น แต่เกิดรัฐประหารใน ค.ศ.1991 เปิดทางให้นายบอริส เยลต์ซินโด่งดังในฐานะผู้สามารถปราบกบฎ และเตรียมการตั้งเป็นประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States) ในเดือนธันวาคม นายกอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต เป็นการยุติความคงอยู่ของสหภาพโซเวียต คงให้สหรัฐอเมริกาเป็นอภิมหาอำนาจผู้นำโลกเพียงชาติเดียว และถือว่าเป็นการยุติสงครามเย็นด้วย
  
CIA (Central Intelligence Agency): หน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกา

  เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นใน ค.ศ.1947 ตามกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Act) แทนที่สำนักงานบริการยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Services: OSS) ที่ตั้งขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง นอกเหนือจากการแสวงหาข่าวแล้ว หน่วยงานนี้ยังเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นด้วย ทำให้เกิดเป็นข้อวิพากย์ในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 กับการที่อเมริกาเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บุกอ่าวหมู (Bay of Pigs) ในคิวบา และชิลียุคอัลเลนเด (Allende's regime) และนิการากัวสมัยกบฎคอนทราต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ซันดินิสตา
  
KGB: เคจีบี: หน่วยรักษาความมั่นคง และหน่วยสืบราชการลับของรัสเซีย

  เป็นชื่อคณะกรรมาธิการเพื่อความั่นคงของชาติสหภาพโซเวียต ค.ศ.1953 สืบต่อจาก NKVD* รับผิดชอบงานก่อวินาศกรรมนอกประเทศ ต่อต้านการสืบราชการลับภายในประเทศ และป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทภายในประเทศ ประธานคณะกรรมาธิการที่มีชี่อเสียงมากคือ ยูริ อันโดรปอฟ (ค.ศ.1967-82) ที่ได้กลายเป็นผู้นำประเทศ ระหว่าง ค.ศ.1982-84

  (NKVD: People's Commissariat for Internal Affairs) เป็นหน่วยสืบราชการลับ ปรับปรุงจากหน่วยเดิมคือ OGPU ใน ค.ศ.1934 เป็นเครื่องมือสำคัญที่สตาลินใช้ปฎิบัติการระหว่าง ค.ศ.1934-38 ต่อมามีการปรับปรุงใน ค.ศ.1946 โดยบีเรีย (Beria) ยุบรวมกับ MVD และ MVD (Ministry of Internal Affairs) ควบคุมตำรวจทั่วประเทศ บริหารค่ายกักกันนักโทษ ขณะที่ (MGBMinistry of State Security) ทำหน้าที่ดูแลตำรวจในกลุ่มประเทศบริวาร และกำจัดกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสม์ทุกรูปแบบ เมื่อเบเรียหมดอำนาจ NKVD ก็ถูกรวมเข้ากับ KGB (K= Komitet, G= Gosudarstvennoi, B= Bezopasnosti)
  
Khmer Rouge (Red Cambodians): เขมรแดง

  เป็นกลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ภายหลังที่โฮจิมินห์ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ค.ศ.1930 พรรคนี้เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มหนุ่มเขมรมาร์กซิสม์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง "พวกขแมร์มินห์" (Khmer Minh) ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับโฮจิมินห์เพื่อต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น ในที่สุดมีการตั้ง "พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา" (Communist Party of Cambodia) ใน ค.ศ.1960 มีนายพอลพตเป็นเลขาธิการใน ค.ศ.1963 ได้เริ่มมีส่วนร่วมในการก่อตั้งหน่วยสงครามกองโจร ชาวนาชาวไร่จน ได้รับฉายาว่าเขมรแดง มีการกบฎเกิดขึ้นที่เสียมเรียบใน ค.ศ.1967 ถูกปราบปรามโดยสีหนุ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ นายพลลอนนอล) มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน พวกเขมรหนุ่ม แห่งกองทัพปฎิวัติกัมพูชา เริ่มก่อตัวเป็นกองกำลังหลักทำสงครามกลางเมืองระหว่าง ค.ศ.1968-75 กองกำลังนี้เป็นพันธมิตร กับทั้งฝ่ายเวียดนามเหนือ และ NLF ของเวียดนามใต้สนับสนุนการส่งกำลังบำรุงผ่านเส้นทางโฮจิมินห์ ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ.1969 เริ่มปฏิบัติการโจมตีเขมรแดง (มีการใช้ระเบิดนาปาล์มด้วย) กับทั้งปฏิบัติการยึดไซ่ง่อนไปพร้อมกัน พวกเขมรแดงที่เหลืออยู่พยายามรวมกำลังกันใหม่ใน ค.ศ.1975 จนสามารถเข้ายึดพนมเปญได้ นายพอลพตปกครองระหว่าง ค.ศ.1975-9 เตรียมใช้วิธีการป่าเถื่อน เพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเอง จัดให้พวกที่ทำมาหากินอยู่ในเมืองหลวงออกไปทำงานนอกเมืองบ้าง จนในที่สุดเขมรฝ่ายที่เวียดนาม หนุนหลังบุกเข้ายึดกรุงพนมเปญใน ค.ศ.1979 พวกเขมรแดงหลบออกไปอยู่ที่พรมแดนไทยกับกัมพูชา เข้าร่วมมือกับฝ่ายเจ้าสีหนุใน ค.ศ.1982 จัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาธิปไตย (Coalition Government of Democratic Kampuchea: CGDK) ใน ค.ศ.1990 สหรัฐยุติความช่วยเหลือเขมรแดง และจีนก็ยุติความช่วยเหลือด้วย เขมรแดงต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว จนถึงเดือนธันวาคมจึงส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม Paris International Conference on Cambodia และเวียดนามตัดสินใจถอนทหารออกไปจากกัมพูชาในปี ค.ศ. 1992
  
Berlin airlift (and blockade): การขนส่งทางอากาศเบอร์ลิน (และปิดล้อม)

  เป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สองจากข้อตกลง ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส ในการประชุมที่ยัลตา (Yalta Conference) และปอตสดัม (Potsdam Conference) แบ่งเยอรมนีและเบอร์ลินเป็น 4 เขตยึดครอง มีคณะผู้บริหารร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรที่พยายามบริหาร และพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ขณะที่สหภาพโซเวียตเน้นระบอบคอมมิวนิสต์ ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1948 สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสดำเนินการปฏิรูปเงินตรา เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กลับมีผลให้สหภาพโซเวีนตเสียหาย เพราะประชาชนในเยอรมนี และเบอร์ลินตะวันออกต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในเขตของตนตามนั้นบ้าง

  สหภาพโซเวียตจัดการสกัดกั้นโดยการปิดล้อมเบอร์ลินในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ.1948 จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1949 เป็นการทดสอบกำลังของพันธมิตรสามประเทศ ฝ่ายตะวันตกพยายามไม่ให้มีการใช้กำลัง โดยการนำเรื่องเสนอองค์การสหประชาชาติ และใช้เครื่องบินลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภค ส่งให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกตลอดเวลาของการปิดล้อม 11 เดือน ซึ่งนักบินสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสต้องบินถึง 277,728 เที่ยว รวมน้ำหนักส่งของ 2,343,301ตันด้วยความร่วมมืออย่างดีของชาวเบอร์ลินตะวันตก ฝ่ายโซเวียตก็ไม่ได้ดำเนินการรุนแรงอย่างอื่น เพราะยังไม่มั่นใจในสมรรถนะของตนเต็มที่ จึงได้แต่ปล่อยให้ความขัดแย้งดำเนินต่อมา จนต้องแบ่งเขตปกครองจากกัน คือส่วนยึดครองของมหาอำนาจตะวันตก จัดตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) หรือเยอรมนีตะวันตกในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.1949 ด้านสหภาพโซเวียตก็ประกาศจัดเขตยึดครองของตน เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (German Democratic Republic) หรือเยอรมนีตะวันออกในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1949
  
Berlin Wall: กำแพงเบอร์ลิน

  เป็นกำแพงที่เกิดจากผลของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ได้สร้างความหวาดวิตก และความเสียหายแก่ประชาชนทั่วโลก ทำให้ต่างไม่ต้องการให้เกิดการทำลายล้างในลักษณะเดียวกันนั้นอีก จึงได้มีการพบปะระหว่างผู้นำชาติมหาอำนาจ คือเซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์และนายโจเซฟ สตาลินที่เมืองยัลตา แหลมไครเมีย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 เพื่อถกปัญหาอนาคตยุโรป รูสเวลท์เสนอให้สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตยังคงไว้ซึ่งสนธิสัญญาสันติภาพ ที่ได้ทำระหว่างสงครามเพื่อเป็นการรักษาความสงบโดยผ่านองค์การสหประชาชาติ

  ข้อเสนอของรูสเวลท์ยังคงไม่ชัดเจนและมหาอำนาจอื่น โดยเฉพาะฝรั่งเศสไม่ต้องการปฎิบัติตาม ยังยืนยันที่จะยึดครองเยอรมนีตามข้อตกลง ค.ศ.1944 รวมทั้งให้มีการแบ่งเขตเบอร์ลินด้วย ส่วนเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับอนาคตของเยอรมนีนั้น ฝรั่งเศสไม่ต้องการเจรจาจนกว่าจะมีการประชุมครั้งต่อไป สหภาพโซเวียตยืนยันว่าควรมีการตกลง เรื่องการฟื้นฟูประเทศเยอรมนีทันที และยังขอดูแลประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก กับเรียกร้องให้ญี่ปุ่นชดใช้ค่าเสียหาย กับส่งมอบดินแดนยึดครองให้สหภาพโซเวียตโดยเร็วที่สุด

  ในที่สุดได้มีการจัดการประชุมใหม่ที่เมืองปอตสดัมในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคมซึ่งสามารถตกลงกันได้เพียงเรื่องเดียว คือการที่ประเทศมหาอำนาจแบ่งกันยึดครองเยอรมนีและเบอร์ลิน

  ต่อมาระหว่าง ค.ศ.1949-60 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ชาวเยอรมันตะวันออก ต้องการอพยพไปเยอรมนีตะวันตก ซึ่งกำลังมีการฟื้นฟูเศรษฐกิจขนานใหญ่ พลเมืองจากเยอรมนีตะวันออกต้องการ ไปใช้แรงงาน และดำรงชีวิตในสังคมที่ดึกว่าสังคมคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเยอรมันตะวันออกจึงสกัดกั้น โดยใช้รั้วทำด้วยลวดกับก้อนอิฐในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ.1961 และต่อมาเพิ่มความแข็งแรง ด้วยการสร้างกำแพงใหญ่ทำด้วยคอนกรีต และขุดเป็นสนามเพลาะมีหอคอยเฝ้าดูคน ที่พยายามหนีเป็นระยะทางยาวถึง 100 ไมล์รอบด้านตะวันตก ของเบอร์ลินตะวันตก ทำให้เบอร์ลินตะวันตกมีสภาพเหมือน เป็นเกาะแห่งนายทุน ที่ล้อมรอบดินแดนคอมมิวนิสต์ เป็นกำแพงอัปยศที่แสดงความล้มเหลวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่ไม่ทำให้ประชาชนเป็นสุขได้

การกักกันนั้นเป็นเหมือนการถูกกั้นด้วย "ม่านเหล็ก" ระหว่าง ค.ศ.1961-89 ได้มีชาวเยอรมันตะวันออกมากกว่า 10,000 คนหลบหนีไปได้ แต่อีกครึ่งหนึ่งถูกจับ มีพวกที่ถูกสังหารขณะหลบหนีเป็นอัตราตัวเลขทางการประมาณ 200 คน แต่จากการสำรวจจริงพบว่ามีคนตายถึง 350 คน พอดีระหว่างช่วง ค.ศ.1989 กระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจกับการปกครองประชาธิปไตย แพร่ไปทั่วดินแดนคอมมิวนิสต์ ทำให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกต้องยอมทำลายกำแพงเบอร์ลินในวันที่ 9 พฤศจิกายน ชาวเยอรมันตะวันออกเดินทางหลั่งไหลเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตก นับเป็นการเริ่มต้นการรวมเยอรมนีที่สำเร็จภายในหนึ่งปี เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสิ้นอำนาจของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ในหลายประเทศในยุโรปตะวันออก



แล้วพูด ถึง สรงครามโลก ครั้งที่1 และ2คงทราบกันดีอยู่แล้วมาพูด ถึงมีโอกาศแค่ไน ในเวลานี้ก็เรื่อม ที่จะเหมือน จุด เรื่อมต้นของสงคราม เย็นเข้าไปทุดที เรื่อม ต้นด้วย รัสเซียกับจอเจีย ตอน นี้ก็เรื่อม แบ่งฝักฝ่ายชัดเจนแล้ว

1รัสเซีย จีนเกาหลีเหนือ

2สหรัฐ ยูเครน เยอรมัน

จะเป็น สงครามเย็น ครั้งที่2หรือ ไม่ ขอความคิดเห็นด้วยครับ

TOP