หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

ทำไมต้องกินผักให้หลากหลาย

ทำไมต้องกินผักให้หลากหลาย

ทำไมต้องกินผักให้หลากหลาย (ชีวจิต)

          ชีวจิตเราเคยเสนอหลักการรับประทานอาหารให้ครบส่วนไปแล้วซึ่งในแต่ละส่วนจำเป็นต้องรับประทานให้หลากหลาย  เพราะในอาหารแต่ละอย่างจะมีสารอาหารหลักไม่เหมือนกัน การรับประทานได้มากชนิดเท่าไร ก็เท่ากับได้สารอาหารหลากหลายเท่านั้น

          ผักก็เช่นเดียวกันที่ควรจะรับประทานให้หลากหลาย ไม่ใช่วันๆ สั่งแต่คะน้าหรือผักบุ้งอยู่แค่นั้น เพราะผักแต่ละชนิดก็จะให้คุณค่า แร่ธาตุแตกต่างกันออกไป

          สารผัก  หรือไฟโตเคมิคอล (Phytochemical) เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญวิตามินเสริมที่มีมาขายทุกวันนี้ก็ล้วนแต่สกัดมาจาก "สารในผัก" ทั้งนั้น ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรงได้เกือบทุกชนิด เช่น โรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ  โดยที่หาไม่ได้จากอาหารชนิดอื่นๆ (ยกเว้นธัญพืช ถั่ว และผลไม้)

          สารผักแต่ละชนิดจะให้คุณค่าต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป เช่น   

          *อัลลิซัลไฟด์ส (Allyl sulfides) จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายให้กำจัดสารพิษได้ดีขึ้น พบมากในหอมหัวใหญ่ หอมเล็ก ต้นหอม และกระเทียม  

             *กลูคาเรต (Glucarate) ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง พบมากในมะเขือยาว มันฝรั่ง พริกไทย  

          *ดิธิโอลธิโอเนส (Dithiolthiones) และ ไอโซธิโอไซยาเนต (Isothiocyanate) จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ให้ขับสารก่อมะเร็งในร่างกายได้ดีขึ้น   พบได้ในผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด

          *อินโดล (Indole) ช่วยลดความเสี่ยงโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง เช่นมะเร็งเต้านมได้ พบในผักตระกูลกะหล่ำ

          *ฟลาโวนอยด์ส (Flavonoids) เป็น ผักตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง เพราะเป็นสารที่ช่วยทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น และต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น (คือทำให้วิตามินบางตัวทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมุลอิสระได้) ฟลาโวนอยด์สสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น  

          เควอร์เซติน (Quercetin) พบมากในมะเขือเทศ มันฝรั่ง บร็อคเคอลี หอมหัวใหญ่  

แกมป์เฟโรล (Kaempferol) ในผักคะน้า

          *แคโรทีนนอนด์ (Carotenoid) สารกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักดีในฐานะที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญที่จะทำให้ผักมีสีเขียวเข้ม เหลือง ส้ม แดง หรือม่วง ประกอบด้วย

เบต้าแคโรทีน (Bata-carotene) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวเก่ง  และลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เป็นอย่างดีพบมากในผักสีจัดๆ เช่น แครอท ผักใบเขียวทุกชนิด พริกหวานสีแดง ฟักทอง

ไลโคเพน (Lycopene) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก พบได้ในมะเขือเทศ

ลูทีน (Lutein) ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งและชะลอความเหยี่ยวย่นของผิวหนัง พบมากในผักใบเขียวทุกชนิด

           ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ ถ้ารับประทานผักครบถ้วน รับรองว่าแข็งแรงและสุขภาพดีแน่นอน
ไฟลล์แนบ: ระดับของกลุ่มสมาชิกนี้ไม่สามารถมองเห็นไฟลล์แนบได้

TOP