หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

‘มะเร็งสำไส้ใหญ่’ ภัยร้ายมาแรงของคนไทย

‘มะเร็งสำไส้ใหญ่’ ภัยร้ายมาแรงของคนไทย

การใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามตะวันตกมากขึ้น หลายอย่างในสังคมก็ได้เปลี่ยนไปด้วย เช่น ลักษณะที่อยู่อาศัย ไลฟ์สไตล์ การแต่งตัว รวมถึงการกินอาหาร ทำให้คนไทยปัจจุบันเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน รวมถึงโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้  หนึ่งในนั้นคือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถือได้ว่าเป็นโรคหนึ่งเลยที่คนไทยเป็นกันมากอีกโรคหนึ่ง ซึ่งตามสถิติในปี พ.ศ. 2551 นั้นพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่กว่า 9,000 ราย โดยพบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ แนวโน้มที่พบมีเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับมะเร็งเต้านม ดังนั้นเราควรศึกษาโรคนี้ไว้เพื่อป้องกันไว้ก่อนจะสายเกินไป

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่นี้จะเกิดจากผู้ที่มีติ่งเนื้อที่ผนังลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ทั้งเพศชายและหญิง
ผู้ที่มีประวัติหรือประวัติครอบครัวมีมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่บางชนิดสามารถถ่ายทอดได้จากทางพันธุกรรม
ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุราจัด เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการของโรคมะเร็งลำไส้
        อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกๆจะยังไม่แสดงอาการใดนัก  แต่หากเริ่มแสดงอาการจะเริ่มจากถ่ายอุจจาระเป็นเลือด, ท้องผูกสลับกับท้องเดินอย่างไม่มีสาเหตุ, ขนาดของเส้นอุจจาระเปลี่ยนไป และปวดเบ่ง คืออาการรู้สึกปวดถ่ายในขณะที่ไม่มีอุจจาระหรือไม่สามารถขับถ่ายออกได้ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียง ก่อให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปวดเนื่องจากมีการกดทับที่ก้นหรือฝีเย็บ
ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่
        Stage 0 – พบมะเร็งที่ผนังด้านนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่
        Stage I – พบมะเร็งที่เยื่อบุชั้นที่ 2และ3 ของผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกลำไส้ใหญ่ ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กเอ
        Stage II – มะเร็งลามไปที่ผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง  ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กบี
        Stage III – มะเร็งลุกลามไปผนังลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กซี
        Stage IV – มะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่น เช่น ตับและปอด ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กดี

การวินิจฉัยและการผ่าตัด
ขั้นแรกผู้ป่วยอาจจะถูกเข้ารับการตรวจ เพื่อหาระยะและการกระจายของมะเร็งโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ในบางรายอาจได้รับการวินิจฉัยโรคจากการตรวจเอกซเรย์โดยการสวนแป้งแบเรี่ยม, การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของ carcinoembryonic antigen (CEA), การตรวจเลือดเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่, เอกซ์เรย์ทรวงอก และเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและเชิงกราน นอกจากนี้การตรวจเพื่อหาการลุกลามของมะเร็งอาจใช้ CT scans, MRI หรือการส่องกล้องคลื่นความถี่สูง (EUS) และจะเริ่มรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ในขั้นต่อไปโดยการผ่าตัด ซึ่งจะะทำตามตำแหน่งที่เกิดมะเร็งในลำไส้ เช่น
        * การผ่าตัดบริเวณครึ่งขวาของลำไส้  Rt. Extended Hemicolectomy
        * การผ่าตัดบริเวณ Transverse  colon Transverse colectomy
        * การผ่าตัดบริเวณครึ่งซ้ายของลำไส้  Lt. Hemicolectomy
        * การผ่าตัดบริเวณ sigmoid colon Sigmoidectomy
        * Sigmoidectomy with Hartman’s pouch
        * ส่วนกรณีลำไส้ตรง บริเวณเชิงกรานที่มีโครงกระดูกขนาดใหญ่ 0tใช้วิธีการ AP resection

        หากในกรณี ผู้ป่วยที่มีก้อนขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถจะทำการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ จะต้องให้การฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อทำให้ก้อนเล็กลง จนผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดเอาก้อนออกได้ วิธีนี้เรียกว่า  “downstaging” โดยการผ่าตัดผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น แบ่งออกตามระยะอาการของผู้ป่วย ดังนี้
        ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 0 และ 1 ใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
        ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 และ 3 ที่เสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำอีก จะทำการฉายรังสีและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย อาจใช้ก่อนหรือหลังผ่าตัด แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกทั้งหมด แต่มีก็โอกาสกลับเป็นซ้ำอีกสูงถึง 50-60% จึงต้องให้ยาเคมีบำบัดจึงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำอีก โดยทั่วไปผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 ที่มีปัญหาลำไส้ทะลุหรือลำไส้อุดตัน หรือที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ผิดปกติมาก(จากการตรวจชื้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์) เป็นกลุ่มเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำอีก จะได้รับการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัด คือfluorouracil (5-FU) และ leucovorin (LV) เป็นเวลา 6 เดือน  
        ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 3 ได้รับการรักษาด้วย fluorouracil และ leucovorin เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยวิธีการรักษาแบบนี้ทำให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
        ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 4 ใช้การรักษาด้วยการตัดก้อนมะเร็งออกร่วมกับการฉายรังสีรักษา โดยอาจใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย ผู้ป่วยบางคนอาจต้องเข้ารับการจัดการการลุกลามของมะเร็งไปอวัยวะใกล้เคียงด้วย เช่น ตับ รังไข่ เป็นต้น ซึ่งจะรักษาด้วย fluorouracil, leucovorinและirinotecan (CPT-11 หรือ Camptosar) หรือ oxaliplatin (Eloxitin)  และใช้ยาirinotecan ร่วมด้วย เพื่อจะมีผลดีในการรักษาเพิ่มขึ้นกว่าที่ใช้เพียง fluorouracil และ leucovorin เท่านั้น

อ้างอิงจาก http://www.cynhite.com/3808/

TOP